วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การปกครองของไทย


การปกครองของไทย


การเมืองการปกครองของไทยปัจจุบัน

       ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
                ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
                    1. ทรงเป็นประมุขของประเทศ
                    2. เป็นจอมทัพไทย
                    3. เป็นที่เคารพสักการะของชาวไทย
                พระราชอำนาจของกษัตริย์ไทย
                    1. ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา
                    2. ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี
                    3. ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล
            พระมหากษัตริย์จะทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาและ
นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการทุกครั้ง ศาลจะเป็นผู้พิจารณาคดีในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ พระราชอำนาจในการเลือกและแต่งตั้งประธานองคมนตรีและองคมนตรี ประธานรัฐสภาจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการแต่งตั้ง และประธานองคมนตรีจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง องคมนตรีคนต่อไป
             หน้าที่ขององคมนตรี ถวายคำปรึกษาและความเห็นในพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์


อำนาจอธิปไตยและการใช้อำนาจ 
     อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจสูงสุดในการออกกฎหมายโดยสถาบันรัฐสภา ในรัฐสภามี 2 สภา คือ
            1. สภาผู้แทนราษฎร มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ในอัตราส่วน 1 : 150,000 มีวาระ 4 ปี
            2. วุฒิสภา มาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์ มีสมาชิก 2 ใน 3 ของสภาผู้แทนราษฎร มีวาระ 4 ปี
          หน้าที่ของรัฐสภา
                1. ทำหน้าที่ออกกฎหมาย
                2. ทำหน้าที่คัดเลือกรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ
                3. รัฐสภาควบคุมการปฏิบัติงานของรัฐบาล
                4.วุฒิสภาหรือวุฒิสมาชิกทำหน้าที่กลั่นกรองพิจารณาร่างกฎหมาย
              บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส.
                1. เลือกคณะรัฐบาลเพื่อบริหารงาน
                2. เป็นสื่อกลางระหว่างรัฐบาลกับประชาชน
                3. ร่วมกันเสนอแนะ ปรับปรุงและรักษาการปกครองแบบประชาธิปไตยในสังคมให้ดีขึ้น
                4. ร่วมกันตรากฎหมาย แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ข้อบังคับของสภา
                5. ควบคุมการทำงานของรัฐบาล
                6. อนุมัติงบประมาณของแผ่นดิน
     อำนาจบริหาร คือ อำนาจในการนำกฎหมายไปบังคับใช้หรือบริหารประเทศโดยรัฐบาล
          อำนาจและหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
                1.ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ว่าจะปฏิบัติ หน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
                2. อุทิศเวลาให้แก่การบริหารราชการแผ่นดิน
                3. รับผิดชอบร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร
                4. มิสิทธิเข้าประชุมสภาผู้แทนราษฎร
                5. มีสิทธิขอให้รัฐสภาเปิดอภิปรายทั่วไป
                6. มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ
                7. มีอำนาจขอกราบบังคมทูลให้ยุบสภาผู้แทนราษฎร
                8.มีอำนาจกราบบังคมทูลแต่งตั้งหรือถอดถอนข้าราชการฝ่ายทหาร พลเรือน ปลัด กระทรวง อธิบดี
                9. มีอำนาจกราบบังคมทูลขอให้พระมหากษัตริย์ ประกาศกฎอัยการศึก และพระราชทานอภัยโทษแก่นักโทษได้
     อำนาจตุลาการ คือ อำนาจในการตัดสินคดี โดยสถาบันศาล ซึ่งศาลแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ศาลชั้นต้น ศาล อุทธรณ์ และศาลฎีกา
ผู้พิพากษาและตุลาการ มีอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย
-คณะกรรมการตุลาการ มีหน้าที่แต่งตั้ง โยกย้าย ถอดถอน เลื่อนตำแหน่ง เลือนเงินเดือน การลงโทษทั้งทางวินัยแก่ข้าราชการตุลาการ
- คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่วินิจฉัยว่าบทบัญญัติของกฎหมายอื่นใดขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าขัดแย้งกฎหมายนั้นจะนำมาบังคับใช้ไม่ได้   และพิจารณาคุณสมบัติของ ส.ส. วุฒิสภาและรัฐมนตรี การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน


1. การบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบด้วย
     - สำนักนายกรัฐมนตรี
     - กระทรวง
     - ทบวง
     - กรม
2. การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย
     - จังหวัด
     - อำเภอ
3. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย
     - องค์การบริหารส่วนจังหวัด
     - เทศบาล
     - สุขาภิบาล
     - กรุงเทพมหานคร
     - เมืองพัทยา
     - องค์การบริหารส่วนตำบล

         พรรคการเมือง การปกครองของประเทศไทย มีพรรคการเมืองหลายพรรค ทำให้เกิดรัฐบาลผสม
          การเลือกตั้ง กระบวนการในการเลือกตั้งของประเทศไทย มีลักษณะเป็นแบบผสม ทั้งแบบแบ่งเขตและแบบรวมเขต คือ
จังหวัดใดที่มีผู้แทนได้เกิน 3 คน ใช้วิธีการแบ่งเขต แต่จังหวัดใดที่มีผู้แทนได้ไม่เกิน 3 คน จะใช้แบบวิธีรวมเขต



การแบ่งเขตการปกครองในอดีต


แผนที่มณฑลเทศาภิบาล พ.ศ. 2458 โดยมีเส้นแบ่งจังหวัดในปัจจุบันประกอบ
นับตั้งแต่ราว พ.ศ. 2458 มาจนถึง พ.ศ. 2475 ประเทศไทยเคยมีเขตการปกครองซึ่งเรียกว่า มณฑลเทศาภิบาล โดยมีพื้นที่หน่วยใหญ่กว่ามณฑล เรียกว่าบริเวณ จังหวัดแรกๆ ของไทย เคยถูกเรียกว่าเมืองโดยพัฒนามาจากนครรัฐในประวัติศาสตร์ มีทั้งเมืองซึ่งเป็นอิสระจากกรุงเทพมหานคร (หรือที่กลายมาเป็นจังหวัดในปัจจุบัน) เช่นเดียวกับเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองดูแล ของเมืองใกล้เคียงที่มีอำนาจเหนือกว่า หรือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบรรณาการกึ่งเอกราช ในปี พ.ศ. 2449 เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงคำว่า "เมือง" ไปเป็น "จังหวัด" ก่อนที่จะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2459[1] หลังจากการยกเลิกมณฑล เขตการปกครองใหม่ที่ใช้แทนเรียกว่าภาค ในระยะแรกนั้น ประเทศไทยแบ่งออกเป็น 4 ภาค โดยมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเป็น 9 ภาค เมื่อปี พ.ศ. 2494 แต่การแบ่งเขตการปกครองแบบนี้ ก็ยกเลิกไปในปี พ.ศ. 2499
สำหรับเทศบาล เคยมีชื่อเรียกว่าสุขาภิบาล ซึ่งส่วนใหญ่มีหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านสุขาภิบาล เช่น การกำจัดของเสีย สุขาภิบาลก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2451[2] และยกระดับเป็นเทศบาลตำบลทั้งหมด เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542[3] ส่วนกิ่งอำเภอ ถือเป็นอำเภอประเภทพิเศษ ซึ่งบางส่วนยังคงเป็นส่วนหนึ่งของอีกอำเภอหนึ่ง โดยปกติแล้ว กิ่งอำเภอซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่มักจะพัฒนาขึ้น จนกลายเป็นอำเภออย่างสมบูรณ์ภายในเวลาไม่กี่ปี โดยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 กิ่งอำเภอซึ่งมีอยู่ 81 แห่ง ก็พัฒนาขึ้นเป็นอำเภอโดยสมบูรณ์ แม้ว่ากิ่งอำเภอหลายแห่ง จะยังมีคุณสมบัติไม่ถึงเกณฑ์ของอำเภออย่างสมบูรณ์ในขณะนั้นก็ตาม



 การปกครองของไทยแต่เดิมก็มีลักษณะเช่นเดียวกับการปกครองชาติอื่นๆ คือมีการรวมกลุ่มกันอยู่
เป็นหมู่เป็นเหล่าบางแห่งก็รวมกันเข้าเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีหัวหน้าเป็นผู้ปกครองดูแลรับผิดชอบให้ความ
คุ้มครองป้องกันภยันตรายตามควรแก่ฐานะทำนองหัวหน้าหรือนายกับลูกน้อง(Master and slave) อำนาจ
หน้าที่และความรับผิดชอบของกลุ่มตกอยู่แก่หัวหน้าสิ้นเชิง โดยมีขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นเครื่องกำกับ
ยึดเหนี่ยว ต่อมาเมื่อมีพลเมืองเพิ่มมากขึ้นปัญหาเรื่องการทำมาหากินโดยอาศัยผืน    แผ่นดินเป็นหลักและ
ความสำคัญในเรื่องพื้นที่และดินแดนจึงเกิดขึ้น มีการกำหนดของอาณาเขตการปกครองของกลุ่มและหมู่ชน
      ชนชาติไทยเป็นกลุ่มชนชาติใหญ่ที่มีระเบียบการปกครองและวัฒนธรรมสูง จีนยกย่องเรียกว่า "ไต๋" 
"ชาติใหญ่" ประกอบกับชาวไทยมีคุณธรรมประจำชาติดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชา
นุภาพทรงกล่าวว่า ชนชาติไทยมีคุณธรรม 3 ประการ เป็นสำคัญจึงสามารถปกครองประเทศสยาม  ได้คือ
ความรักอิสระของชาติความปราศจากวิหิงสาและความฉลาดในการประสานประโยชน์ถ้าจะเรียกเป็นภาษา
อังกฤษ คือ Love of national independence, Toleration and Power of assimilation สำหรับการจัดรูปการ
ปกครองของไทยแต่เดิม จากพงศาวดารและหลักฐานอ้างอิง  พอสันนิฐานได้ว่าไทยในสมัยน่านเจ้านั้นการ
ปกครองในส่วนกลางแบ่งออกเป็น 9 กระทรวง คือ
  1. ฮินสอง      เทียบกับปัจจุบันได้แก่      กระทรวงมหาดไทย
  2. โม่วสอง     เทียบกับปัจจุบันได้แก่      กระทรวงกลาโหม 
  3. ม่านสอง    เทียบกับปัจจุบันได้แก่      กระทรวงการคลัง 
  4. ยันสอง      เทียบกับปัจจุบันได้แก่      กระทรวงการต่างประเทศ 
  5. หว่อสอง     เทียบกับปัจจุบันได้แก่      กระทรวงพาณิชย์ 
  6. ฝัดสอง      เทียบกับปัจจุบันได้แก่      กระทรวงยุติธรรม
  7. ฮิดสอง      เทียบกับปัจจุบันได้แก่      กระทรวงโยธาธิการ 
  8. จุ้งสอง      เทียบกับปัจจุบันได้แก่      กระทรวงสำมะโนครัว
  9. ฉื่อสอง      เทียบกับปัจจุบันได้แก่      กระทรวงวังหรือราชประเพณี 
      การบริหารงานของราชการส่วนกลางมีอภิรัฐมนตรีรัฐมนตรีหรือเสนาบดี ปลัดกระทรวง อธิบดีเจ้า
กรมปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบตามลำดับส่วนการปกครองในภูมิภาคแบ่งเขตการปกครองเป็นมณฑล
แต่ละมณฑลมีเมืองเอกโทตรีและจัตวามีหัว หน้าปกครองลดหลั่นกันไปได้แก่เจ้าหัวเมืองเอกเจ้าหัวเมืองโท
เจ้าหัวเมืองตรีและเจ้าหัวเมืองจัตวาแต่ละเมืองแบ่งออกเป็น    แขวงมีนายอำเภอเป็นหัวหน้ารองจากแขวง
เป็นแคว้นมีกำนันเป็นหัวหน้าจากแคว้นจึงเป็นหมู่บ้านมีผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้ารับผิดชอบซึ่งรูปแบบการปก
ครองดังกล่าว นี้มีลักษณะคล้ายกับการปกครองในแบบปัจจุบันมาก